คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

ประวัติความเป็นมา

คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีการศึกษา 2532โดยเปิดทำการสอนในระดับปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี โดยใช้ชื่อหลักสูตรว่านิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.) ทั้งภาคปกติและภาคค่ำ โดยได้รับการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ทบวงมหาวิทยาลัยเดิม) ในปีการศึกษา 2536 จนถึงปัจจุบัน

ปัจจุบัน คณะนิเทศศาสตร์ดำเนินการจัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีทั้งความรู้และความสามารถในสาขาวิชาต่างๆ โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เลือกเรียนในสาขาวิชาที่สนใจทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท รวมทั้งสิ้นจำนวน 7 หลักสูตร จำแนกเป็นระดับปริญญาตรี 6 หลักสูตร และ ปริญญาโท 1 หลักสูตร

นับตั้งแต่ปีการศึกษา 2540 เป็นต้นมา คณะนิเทศศาสตร์ได้เปิดรับนักศึกษากลางปีในสาขาวิชาการโฆษณา (ภาคปกติ) ด้วย  ต่อมาในปีการศึกษา 2545 คณะนิเทศศาสตร์ได้เข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษาเป็นครั้งแรก โดยมีภาควิชาการประชาสัมพันธ์เป็นภาควิชานำร่องในการเข้าร่วมโครงการฯ
ปีการศึกษา 2546 คณะนิเทศศาสตร์มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษาโดยนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฯ นั้นสามารถลงทะเบียนและนับเป็นรายวิชาในหมวดวิชาเลือกเสรีจำนวน 6 หน่วยกิตซึ่งจากผลการประเมินพบว่า โครงการสหกิจศึกษามีผลต่ออัตราการได้งานทำของนักศึกษา ดังนั้น ทางคณะฯ จึงดำเนินการปรับปรุงหลักสูตร และ บรรจุไว้เป็นรายวิชาหนึ่งของคณะนิเทศศาสตร์ โดยจะเริ่มใช้หลักสูตรดังกล่าวในตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 นี้ เป็นต้นไป
คณะนิเทศศาสตร์เป็นคณะวิชาหนึ่งที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งวงวิชาการและวิชาชีพโดยคณะฯ ได้สนับสนุนให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการจัดทำโครงการต่าง ๆ กับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกสถาบัน และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานี้ ทางคณะวิชาได้มีโอกาสประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในรูปแบบกิจกรรมต่างๆ เพื่อสนองตอบพันธกิจทั้ง 4 ด้าน ดังนี้

1.    การผลิตบัณฑิต
2.    การวิจัยและงานสร้างสรรค์
3.    การบริการวิชาการแก่สังคม
4.    การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

พันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตนั้น คณะนิเทศศาสตร์ จัดให้มีการเรียนการสอนโดยให้ความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพแก่นักศึกษาทั้งทางด้านความคิดสร้างสรรค์และการแสดงออกอย่างเหมาะสม ตลอดจนมุ่งสร้างจิตสำนึกที่ดีในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและสังคมสืบไป พร้อมกันนี้คณะฯ ยังมุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยจัดให้มีกิจกรรม เพื่อสร้างโอกาสในการแสดงผลงานของนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง อาทิการสนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมประกวดผลงานทางวิชาการและวิชาชีพในเวทีระดับชาติ และการจัดแสดงผลงานนักศึกษาในงานสยามนิทัศน์ซึ่งจัดให้มีขึ้นทุกปี เป็นต้นนอกจากนี้ คณะฯ ได้ให้ความสำคัญต่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยจัดให้มีกิจกรรม เพื่อสร้างโอกาสในการแสดงผลงานของนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามสภาพเป็นจริง (Authentic Learning) ซึ่งทางคณะฯ เรียกว่า “Block Learning” เพื่อพัฒนาทักษะทางวิชาการและวิชาชีพให้แก่นักศึกษา อีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับนักศึกษาที่จะเข้าสู่การปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ซึ่งเป็นรายวิชาหนึ่งในหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต

พันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตนั้น คณะนิเทศศาสตร์ จัดให้มีการเรียนการสอนโดยให้ความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพแก่นักศึกษาทั้งทางด้านความคิดสร้างสรรค์และการแสดงออกอย่างเหมาะสม ตลอดจนมุ่งสร้างจิตสำนึกที่ดีในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและสังคมสืบไป พร้อมกันนี้คณะฯ ยังมุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยจัดให้มีกิจกรรม เพื่อสร้างโอกาสในการแสดงผลงานของนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง อาทิการสนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมประกวดผลงานทางวิชาการและวิชาชีพในเวทีระดับชาติ และการจัดแสดงผลงานนักศึกษาในงานสยามนิทัศน์ซึ่งจัดให้มีขึ้นทุกปี เป็นต้นนอกจากนี้ คณะฯ ได้ให้ความสำคัญต่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยจัดให้มีกิจกรรม เพื่อสร้างโอกาสในการแสดงผลงานของนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามสภาพเป็นจริง (Authentic Learning) ซึ่งทางคณะฯ เรียกว่า “Block Learning” เพื่อพัฒนาทักษะทางวิชาการและวิชาชีพให้แก่นักศึกษา อีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับนักศึกษาที่จะเข้าสู่การปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ซึ่งเป็นรายวิชาหนึ่งในหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต

นอกจากพันธกิจหลักทั้ง 4 นี้ทางคณะฯ ยังให้ความสำคัญต่อพันธกิจด้านการบริหารจัดการ กิจกรรมพัฒนานักศึกษา และ การประกันคุณภาพ ตลอดจนมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้ทั้งคณาจารย์และนักศึกษาผลิตผลงานสร้างสรรค์และงานนวัตกรรมต่างๆรวมทั้งการแสดงความสามารถในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อส่งประกวดทั้งในระดับสถาบันและระดับประเทศซึ่งนับว่าเป็นการสร้างชื่อเสียงและการแสดงศักยภาพของบุคลากรในคณะฯ ให้เป็นที่ประจักษ์และยอมรับแก่สังคมอีกประการหนึ่ง
ในการนี้ ทางคณะวิชาได้กำหนดเสาหลักในการบริหารงานของคณะฯ ซึ่งครอบคลุมภารกิจต่าง ๆ ดังนี้

1.    สารสนเทศ
2.    แผนพัฒนา
3.    การประชุมวิชาการ
4.    กิจการพัฒนานักศึกษา
5.    วารสารทางวิชาการ
6.    การเรียนการสอน (Authentic Learning)
7.    เครือข่ายนิเทศศาสตร์ การประกันคุณภาพการศึกษา
8.    พัฒนาคณาจารย์ ตำแหน่งวิชาการ รายได้ วิจัย งานสร้างสรรค์

ชื่อคณบดีและหัวหน้าภาควิชา

ชื่อคณบดี : รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย ศิริกายะ

 

ชื่อหัวหน้าภาควิชา ประกอบด้วย
หัวหน้าภาควิชาหนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์ : อาจารย์ประกิจ อาษา
หัวหน้าภาควิชาการประชาสัมพันธ์    : อาจารย์พลอยชนก    วงศ์ภัทรไพศาล
หัวหน้าภาควิชาการโฆษณา : อาจารย์ปิยะศักดิ์ ชมจันทร์
หัวหน้าภาควิชาสื่อดิจิทัล : อาจารย์เวทิต ทองจันทร์
หัวหน้าภาควิชาวิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ : อาจารย์มนต์ศักดิ์ เกษศิรินทร์เทพ
หัวหน้าภาควิชาสื่อสารการแสดง : อาจารย์ชโลธร จันทะวงศ์

คณะกรรมการบริหารประจำคณะนิเทศศาสตร์