งานวิจัย ปีการศึกษา 2560
ภัยคุกคามที่มาจากภาพฝังใจของชาวต่างชาติที่มีต่อนักศึกษา (คลิกที่นี่เพื่อ download)
ปัจจุบันนี้การวิจัยนับว่ามีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรฐกิจและสังคมอย่างยิ่ง หากงานวิจัยที่ปรากฎต่อสาธารณชนมีความเที่ยงตรง นำเสนอสิ่งที่เป็นความจริง ก็จะสะท้อนให้เห็นสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริงก็จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดและมีประสิทธิภาพ
“ส่งเสริมงานวิจัย พัฒนางานสร้างสรรค์ สู่สังคมที่ยั่งยืน”
- สร้างงานวิจัย/งานสร้างสรรค์ที่เป็นองค์ความรู้ใหม่ให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการสู่ระดับชาติและนานาชาติ
- นำผลงานวิจัย/งานสร้างสรรค์สร้างสิทธิประโยชน์สู่คณะฯและมหาวิทยาลัย รวมทั้งเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันในระดับชาติและนานาชาติ
- นำระบบเครือข่ายการบริหารงานวิจัยของคณะวิชา มาพัฒนาให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม สนับสนุนการดำเนินงานวิจัย/งานสร้างสรรค์ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย โดยมุ่งเน้นเป้าหมายหลัก คือ
- สร้างองค์ความรู้ที่นำไปสู่ความเข้มแข็งทางวิชาการและเป็นพื้นฐานในการพัฒนาประเทศ
- สร้างผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ตลอดจนจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา
- สร้างผลงานวิจัยที่สามารถนำไปพัฒนาและใช้ประโยชน์ในด้านวิชาการ ด้านนโยบาย ด้านสาธารณะด้านสังคม และพาณิชย์
- สนับสนุนและส่งเสริมให้นักวิจัยสร้างนวัตกรรมเชิงบูรณาการเพิ่มขึ้น
- สนับสนุนและส่งเสริมให้มีการตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานวิจัย/งานสร้างสรรค์โดยผ่านการคัดสรรวิเคราะห์ และสังเคราะห์งานวิจัย
- สร้างเครือข่ายนักวิจัยเพื่อเป็นที่พึ่งพาของนักวิจัยและสังคม
- พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการระบบงานวิจัยและการติดตามประเมินผลบริการวิชาการ และการศึกษาที่มีแนวความคิดสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาคุณภาพนำสังคมสู่มาตรฐานสากล
- จัดให้มีการฝึกอบรมแก่บุคลากรทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
- สนับสนุนและส่งเสริมงานวิจัย/งานสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพเพื่อให้เกิดการพัฒนาและความก้าวหน้าทางวิชาการ ทั้งในด้านการสร้างองค์ความรู้และความสามารถในการนำผลงานวิจัย/งานสร้างสรรค์ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์
- ส่งเสริมความสามารถในการคิด และวิธีการวิจัยให้แก่คณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการวิจัย/งานสร้างสรรค์
- ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีกิจกรรมวิจัยร่วมกับภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และนักวิชาการทั้งภายในและภายนอก
จรรยาบรรณนักวิจัย : แนวทางปฏิบัติ
จรรยาบรรณนักวิจัย หมายถึง หลักเกณฑ์ควรประพฤติปฏิบัติของนักวิจัยทั่วไป เพื่อให้การดำเนินงานวิจัย ตั้งอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรม และหลักวิชาการที่เหมาะสม ตลอดจนประกันมาตรฐาน ของการศึกษาค้นคว้าให้เป็นไป อย่างสมศักดิ์ศรี และเกียรติภูมิของนักวิจัย
- นักวิจัยต้องซื่อสัตย์และมีคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการนักวิจัยต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน ไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น ต้องให้เกียรติ และอ้างถึงบุคคล หรือแหล่งที่มาของข้อมูล ที่นำมาใช้ในงานวิจัย ต้องซื่อตรงต่อการแสวงหาทุนวิจัย และมีความเป็นธรรม เกี่ยวกับผลประโยชน์ ที่ได้จากการวิจัย
- นักวิจัยต้องตระหนักถึงพันธกรณี ในการทำวิจัย ตามข้อตกลงที่ทำไว้ กับหน่วยงานที่สนับสนุนการวิจัย และต่อหน่วยงานที่ตนสังกัดนักวิจัยต้องปฏิบัติตามพันธกรณี และข้อตกลงการวิจัย ที่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายยอมรับร่วมกัน อุทิศเวลาทำงานวิจัย ให้ได้ผลดีที่สุด และเป็นไปตามกำหนดเวลา มีความรับผิดชอบ ไม่ละทิ้งงาน ระหว่างดำเนินการ
- นักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัยนักวิจัยต้องมีพื้นฐานความรู้ ในสาขาวิชาการที่ทำวิจัยอย่างเพียงพอ และมีความรู้ความชำนาญ หรือมีประสบการณ์ เกี่ยวเนื่องกับเรื่องที่ทำวิจัย เพื่อนำไปสู่งานวิจัยที่มีคุณภาพ และเพื่อป้องกัน ปัญหาการวิเคราะห์ การตีความ หรือ การสรุป ที่ผิดพลาด อันอาจก่อให้เกิดความเสียหาย ต่องานวิจัย
- นักวิจัยต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ศึกษาวิจัย ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่มีชีวิต หรือไม่มีชีวิตนักวิจัยต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบระมัดระวัง และเที่ยงตรงในการทำวิจัย ที่เกี่ยวข้องกับคน สัตว์ พืช ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม มีจิตสำนึก และมีปณิธานที่จะอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม
- นักวิจัยต้องเคารพศักดิ์ศรี และสิทธิของมนุษย์ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัยนักวิจัยต้องไม่คำนึงถึง ผลประโยชน์ทางวิชาการจนละเลย และขาดความเคารพในศักดิ์ศรี ของเพื่อนมนุษย์ ต้องถือเป็นภาระหน้าที่ ที่จะอธิบายจุดมุ่งหมายของการวิจัย แก่บุคคลที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง โดยไม่หลอกลวง หรือบีบบังคับ และไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
- นักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด โดยปราศจากอคติในทุกขั้นตอนของการทำวิจัยนักวิจัยต้องมีอิสระทางความคิด ต้องตระหนักว่า อคติส่วนตนหรือความลำเอียง ทางวิชาการ อาจส่งผลให้มีการ บิดเบือนข้อมูล และข้อค้นพบทางวิชาการ อันเป็นเหตุให้เกิดผลเสียหายต่องานวิจัย
- นักวิจัยพึงนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบ นักวิจัยพึงเผยแพร่ผลงานวิจัย เพื่อประโยชน์ทางวิชาการ และสังคมไม่ขยายผลข้อค้นพบ จนเกินความเป็นจริง และไม่ใช้ผลงานวิจัย ไปในทางมิชอบ
- นักวิจัยพึงเคารพความคิดเห็นทางวิชาการของผู้อื่นนักวิจัยพึงมีใจกว้าง พร้อมที่จะเปิดเผยข้อมูล และขั้นตอนการวิจัย ยอมรับฟังความคิดเห็น และเหตุผลทางวิชาการของผู้อื่น และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไข งานวิจัยของตนให้ถูกต้อง
- นักวิจัยพึงมีความรับผิดชอบต่อสังคมทุกระดับนักวิจัยพึงมีจิตสำนึก ที่จะอุทิศกำลังสติปัญญาในการทำวิจัย เพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการ เพื่อความเจริญ และประโยชน์สุข ของสังคมและมวลมนุษยชาติ
อ้างอิง: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.). จรรยาบรรณของนักวิจัย.
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัย คณะนิเทศศาสตร์
รศ.ดร.ศิริชัย ศิริกายะ
ประวัติความเป็นมาของศูนย์วิจัยคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
ศูนย์วิจัยคณะนิเทศศาสตร์ จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางเครือข่ายการวิจัยด้านนิเทศศาสตร์
และเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับรวมทั้งเป็นศูนย์กลางในการส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานวิจัยทางนิเทศศาสตร์ ตลอดจนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนา ศักยภาพด้านการวิจัยของ คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษานิเทศศาสตร์ การบริหารงานขึ้นตรงต่อคณบดี คณะกรรมการวิจัยและหัวหน้าศูนย์วิจัย มีหน้าที่ในการจัดทำแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยทางด้านนิเทศศาสตร์ เช่น จัดหาแหล่งทุนการวิจัย เป็นต้น และยังให้ความช่วยเหลือสนับสนุนในการทำวิจัยของอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ตลอดจนให้ความร่วมมือและประสานงานในการทำวิจัยระหว่างสถาบันทั้งภายในประเทศ และ ต่างประเทศ รวมทั้งการให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับการวิจัย โดยการสืบค้นผ่านเครือข่าย Internet ดำเนินการจัดการอบรม สัมมนาทางการวิจัยและการอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ทางการวิจัย เช่น การให้คำปรึกษาแนะนำด้านการวิจัย การประสานงานในการเก็บข้อมูล และการเผยแพร่ผลงานวิจัย ฯลฯ เพื่อให้คณาจารย์และบุคลากรของ คณะนิเทศศาสตร์สามารถผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ เป็นการพัฒนาองค์ความรู้ให้เป็นประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางด้านวิชาการ เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติต่อไป
หน้าที่ของศูนย์วิจัย คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
- ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการทำวิจัยและการบริหารจัดการงานวิจัยแก่หน่วยงาน และบุคคลทั่วไป อาทิ การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย การออกแบบงานวิจัย การใช้สถิติเพื่อการวิจัย การสร้างแบบสอบถาม การเก็บข้อมูล
- การฝึกอบรมด้านการวิจัยและพัฒนานักวิจัย การที่จะให้ได้มาซึ่งผลการวิจัยที่มีคุณภาพและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ผู้วิจัยจำเป็นต้องมีความรู้ ความเข้าใจในขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการวิจัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบงานวิจัย รวมทั้งการสร้างการใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่จำเป็นต่อการวิจัยเป็นอย่างดี ศูนย์วิจัย คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ได้เปิดให้บริการฝึกอบรมเกี่ยวกับการทำวิจัยและการพัฒนานักวิจัยให้กับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและธุรกิจเอกชน
Download : แบบฟอร์มการขอใช้บริการ
ศูนย์วิจัยนิเทศศาสตร์ เป็นศูนย์ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อการผลิตงานวิจัย และงานสร้างสรรค์ของคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ ทั้งยังเพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.)
คณะกรรมการศูนย์วิจัยนิเทศศาสตร์
อธิการบดี ที่ปรึกษา
คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ ประธานกรรมการ
เลขานุการคณะกรรมการประกันคุณภาพ กรรมการ
เลขานุการคณะกรรมการวิชาการ กรรมการ
เลขานุการคณะกรรมการกิจการนักศึกษาและกิจการทั่วไป กรรมการ
เลขานุการคณะกรรมการกิจการนักศึกษาและกิจการทั่วไป กรรมการ
เลขานุการคณะกรรมการการเงิน กรรมการ
เลขานุการคณะกรรมการวิจัยและเครือข่าย เลขานุการ
เลขานุการคณะนิเทศศาสตร์ ผู้ช่วยเลขานุการ