รายวิชาในหลักสูตร แผน ข.

แผน ข. เน้นการศึกษางานรายวิชาไม่ต้องทำวิทยานิพนธ์ แต่ต้องมีการค้นคว้าอิสระ

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต 144 – 470 สถิติประยุกต์เพื่อการวิจัยนิเทศศาสตร์ 3 (3-0-6)
Applied Statistical Analysis for Communication Research
* ไม่นับหน่วยกิตสำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา และยกเว้นสำหรับนักศึกษาที่มีพื้นฐานในรายวิชาดังกล่าวมาแล้ว

หมวดวิชาบังคับ จำนวน 12 หน่วยกิต

700 – 201 ภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา 3 (3-0-6)
English for Graduate Study
700 – 111 ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ 3 (3-0-6)
Research Methodology for Social Science
144-510 ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อการวิจัยนิเทศศาสตร์ 3 (3-0-6)
Qualitative Research Methods for Communication Research
144 – 600 การวิเคราะห์เครือข่ายการสื่อสาร (3-0-6)
Communication Network Analysis

 

รายวิชาในหลักสูตร แผน ก.2

แผน ก.2 ทำวิทยานิพนธ์ และศึกษางานรายวิชา

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต

144 – 470 สถิติประยุกต์เพื่อการวิจัยนิเทศศาสตร์ 3 (3-0-6)
Applied Statistical Analysis for Communication Research

* ไม่นับหน่วยกิตสำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา และยกเว้นสำหรับนักศึกษาที่มีพื้นฐานในรายวิชาดังกล่าวมาแล้ว

หมวดวิชาบังคับ จำนวน 12 หน่วยกิต

700 – 111 ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์ 3 (3-0-6)
Research Methodology for Social Science

700 – 201 ภาษาอังกฤษสำหรับบัณฑิตศึกษา 3 (3-0-6)
English for Graduate Study

144-510

ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อการวิจัยนิเทศศาสตร์ 3 (3-0-6)

Qualitative Research Methods for Communication Research

144 – 600 การวิเคราะห์เครือข่ายการสื่อสาร 3 (3-0-6)
Communication Network Analysis

คณะผู้บริหาร

คณาจารย์ประจำหลักสูตร รองศาสตราจารย์ ดร. ศิริชัย ศิริกายะ Ph.D. Communication/ The Ohio State University/2516อดีตอาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ดูแลหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตและดุษฏีบัณฑิต รองศาตราจารย์ สุธี พลพงษ์ ช นศ.ม. การสื่อสารมวลชน/จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/2533อดีตอาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.มณฑิรา ธาดาอำนวยชัย นศ.ด. นิเทศศาสตร์/จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/2553 อาจารย์ มล.อัจฉราพร ณ สงขลา นศ.ม.การสื่อสารมวลชน/จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/2526อดีตผู้อำนวยการฝ่ายวื่อสารวิสาหกิจและประชาสัมพันธ์ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) อาจารย์บุษบา ศรีรัตจนาการ นศ.ม. การสื่อสารมวลชน/จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/2542ว.บ. การโฆษณา/มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์/2526 อาจารย์ศักรา ไพบูลย์ M.A. Visual Communication/ Birmingham City University/2552 อาจารย์เชาวลิต ธรรมส่องหล้า M.Sc. Computer Science/ University of Missouri/2552 อาจารย์สุริยา […]

ติดต่อสอบถาม

ติตด่อประสานงาน อาจารย์ณัฐวุฒิ สิงห์หนองสวง โทร. 086-0924704อาจารย์ยุทธนา สุวรรณรัตน์ โทร. 089-6540694 โทร. 02-457-0068 ต่อ 5409 มหาวิทยาลัยสยามเลขที่ 38 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160

รายวิชาในหลักสูตร แผน ก.

แผน ก. เป็นแผนการศึกษาเน้นการวิจัยโดยมีการทำวิทยานิพนธ์

แผน ก.1 ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต

144-699 วิทยานิพนธ์ 36(0-0-36)
Thesis

และรายวิชาบังคับนักศึกษาเรียนรายวิชาต่อไปนี้ โดยไม่นับหน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตจำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต องค์ประกอบของหลักสูตร หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต ประกอบด้วย 3 แผนคือแผน ก. (แบบ ก.1) ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์แผน ก. (แบบ ก.2) ทำวิทยานิพนธ์และศึกษางานรายวิชา แผน ข. ศึกษางานรายวิชาไม่ต้องทำวิทยานิพนธ์ แต่ต้องมีการค้นคว้าอิสระ จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต ดังรายละเอียดต่อไปนี้ แผน ก. (แบบ ก.1) ทำเฉพาะวิทยานิพนธ์ จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิตโครงสร้างของหลักสูตรประกอบด้วย รายวิชาบังคับ 2 รายวิชา ไม่นับหน่วยกิต หมวดวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต แผน ก. (แบบ ก.2) ทำวิทยานิพนธ์และศึกษางานรายวิชา จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิตโครงสร้างของหลักสูตรประกอบด้วย หมวดวิชาปรับพื้นฐาน ไม่นับหน่วยกิต หมวดวิชาบังคับ 12 หน่วยกิต หมวดวิชาเลือก 12 หน่วยกิต […]

จุดเด่นของหลักสูตร

เพื่อนำความรู้จากการวิจัย ผลิตผลงานทางด้านการสื่อสารเพื่อประยุกต์ใช้ในสาขาต่างๆ ทางนิเทศศาสตร์ทั้งโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ผ่านสื่อดิจิทัล (Digital Media)

ระบบจัดการศึกษาและคุณสมบัติผู้สมัคร

ระบบจัดการศึกษาและคุณสมบัติผู้สมัคร ระบบระบบทวิภาคโดยแบ่งเวลาปีการศึกษาในหนึ่งปีออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ คือ ภาคการศึกษาปกติที่หนึ่ง และภาคการศึกษาที่สอง หากเห็นสมควรมหาวิทยาลัยอาจจัดให้มีการศึกษาภาคฤดูร้อนก็ได้ ภาคการศึกษาปกติแต่ละภาคจะมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ ส่วนภาคการศึกษาฤดูร้อนจะมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 6 สัปดาห์ และต้องมีชั่วโมงเรียนของแต่ละรายวิชารวมกันทั้งหมดเทียบเท่ากับชั่วโมงของการศึกษาในภาคการศึกษาปกติ การดำเนินการหลักสูตร– วันและเวลาดำเนินการนอกเวลาราชการ วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17.00-20.30 น. – วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 8.30-20.30 น. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา ผู้สมัครจะต้องสำเร็จปริญญาบัณฑิตหรือเทียบเท่า หรือกำลังศึกษาอยู่เป็นภาคการศึกษาสุดท้ายของหลักสูตรปริญญาบัณฑิตในสถาบันการศึกษา ซึ่งหลักสูตรปริญญาบัณฑิตนั้นสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากระทรวงศึกษาธิการได้ให้การรับรอง ในกรณีเป็นนักศึกษาจบการศึกษาจากต่างประเทศจะต้องได้รับการรับรองจากมหาวิทยาลัย และมีคุณสมบัติเพิ่มเติมตามที่ภาควิชาหรือสาขาวิชาและบัณฑิตวิทยาลัยกำหนดเป็นรายปี สำหรับนักศึกษาที่สมัครเข้าศึกษาในแผน ก.1 ต้องได้รับอนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์จากคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาคณะฯ จึงสามารถเข้าศึกษาได้ การคัดเลือกผู้สมัคร ต้องสอบผ่านการคัดเลือกโดยยึดหลักเกณฑ์การสอบสัมภาษณ์ หรือวิธีการทดสอบอื่นใดที่ทางคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตรเป็นผู้กำหนดขึ้น ระยะเวลาการศึกษาระยะเวลาสำหรับการศึกษาตลอดหลักสูตรไม่เกิน 5 ปีการศึกษา ในกรณีต่อระยะเวลาการศึกษาให้อยู่ในดุลพินิจของอาจารย์ที่ปรึกษา ผู้อำนวยการหลักสูตร คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการบัณฑิตศึกษา

เกี่ยวกับหลักสูตร

ความสำคัญคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ได้ทำการเปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ปี พ.ศ.2532 โดยเปิดการสอนในสาขาวิชาหนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์ สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ สาขาวิชาการโฆษณา ในปี พ.ศ. 2550 เปิดสาขาวิชาสื่อดิจิทัล ปีพ.ศ. 2554 เปิดสาขาวิชาวิทยุโทรทัศน์และภาพยนตร์ และในปี พ.ศ. 2556 ได้เปิดการเรียนการสอนสาขาวิชาสื่อสารการแสดง เพื่อให้การจัดการศึกษาในหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิตสอดคล้องกับภาวะการสื่อสารและครอบคลุมตามหลักการเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สร้างสังคมสร้างสรรค์ และเพิ่มศักยภาพของบัณฑิตให้มีสมรรถนะเป็นไปตามความต้องการของตลาดแรงงานในด้านสื่อสารทางการแสดงที่กว้างไกลและเพิ่มมากขึ้น หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตเดิมของมหาวิทยาลัยสยาม มีเนื้อหาบางรายวิชาอาจมีความล้าสมัยไม่สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง การปรับปรุงหลักสูตรเพื่อให้สอดคล้องและทันต่อสถานการณ์ทางการสื่อสารในปัจจุบันจึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็น หลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต พ.ศ.2555 เป็นหลักสูตรที่มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเน้นการผลิตบัณฑิตให้เป็นบุคลากรมีความสามารถทางการสร้างสรรค์สื่อและสารด้านสื่อดิจิทัลที่มีความรู้ทั้งในส่วนของภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ มีทักษะในการปฏิบัติหน้าที่ทางวิชาชีพด้วยการบูรณาการกระบวนการเรียนการสอนในชั้นเรียนให้สอดคล้องกับพันธกิจทั้ง 4 ด้านของมหาวิทยาลัย เพื่อให้บุคลากรให้มีความรู้ความสามารถรอบด้านในการสร้างสรรค์งานด้านสื่อดิจิทัล สามารถพัฒนาตนเองให้เป็นผู้คิดกว้างไกลและสร้างสรรค์โดยให้เป็นที่ยอมรับแก่สังคม ตลอดจนมุ่งให้มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยเน้นการพัฒนานักวิชาการที่มีความรู้ความสามารถทั้งด้านวิจัยและการนำเอาการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในสาขานิเทศศาสตร์ที่ต้องพึ่งเทคโนโลยีดิจิทัล มีความรู้ความสามารถ บุกเบิก แสวงหาความรู้ผลิตงานสร้างสรรค์ทางด้านนิเทศศาสตร์ ตลอดจนสร้างเสริมคุณภาพ และจริยธรรมทางด้านนิเทศศาสตร์ ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจและวัตถุประสงค์ของหลักสูตรปรัชญา/ความสำคัญปรัชญาของหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตคือ “สอนคนให้คิดเป็น ทำได้ มีความซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพและสังคม รู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยคุณธรรมของความดีงาม” ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยที่ว่า“ปฺญา นรานํ รตนํ ซึ่งมีความหมายว่า “ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน” วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เพื่อผลิตบัณฑิตที่เพียบพร้อมด้วยความรู้ […]