การบริหารจัดการ

ชื่อคณะวิชา   
คณะนิเทศศาสตร์

ที่ตั้ง  
ห้อง 19-704 ชั้น 7อาคารเฉลิมพระเกียรติ 19 ชั้น (อาคาร 19) มหาวิทยาลัยสยาม
เลขที่ 38ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ    กรุงเทพมหานคร10160
หมายเลขโทรศัพท์0-2457-0068 และ 0–2867–8000ต่อ 5409
หมายเลขโทรสาร 0–2457–3982

ประวัติความเป็นมา   
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ก่อตั้งขึ้นเมื่อปีการศึกษา 2532โดยเปิดทำการสอนในระดับปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี โดยใช้ชื่อหลักสูตรว่านิเทศศาสตรบัณฑิต (นศ.บ.) ทั้งภาคปกติและภาคค่ำ โดยได้รับการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ทบวงมหาวิทยาลัยเดิม) ในปีการศึกษา 2536 จนถึงปัจจุบัน

ปัจจุบัน คณะนิเทศศาสตร์ดำเนินการจัดการเรียนการสอนเพื่อผลิตบัณฑิตที่มีทั้งความรู้และความสามารถในสาขาวิชาต่างๆ โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เลือกเรียนในสาขาวิชาที่สนใจทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท รวมทั้งสิ้นจำนวน 7 หลักสูตร จำแนกเป็นระดับปริญญาตรี 6 หลักสูตร และ ปริญญาโท 1 หลักสูตร

นับตั้งแต่ปีการศึกษา 2540 เป็นต้นมา คณะนิเทศศาสตร์ได้เปิดรับนักศึกษากลางปีในสาขาวิชาการโฆษณา (ภาคปกติ) ด้วย  ต่อมาในปีการศึกษา 2545 คณะนิเทศศาสตร์ได้เข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษาเป็นครั้งแรก โดยมีภาควิชาการประชาสัมพันธ์เป็นภาควิชานำร่องในการเข้าร่วมโครงการฯ
ปีการศึกษา 2546 คณะนิเทศศาสตร์มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษาโดยนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฯ นั้นสามารถลงทะเบียนและนับเป็นรายวิชาในหมวดวิชาเลือกเสรีจำนวน 6 หน่วยกิตซึ่งจากผลการประเมินพบว่า โครงการสหกิจศึกษามีผลต่ออัตราการได้งานทำของนักศึกษา ดังนั้น ทางคณะฯ จึงดำเนินการปรับปรุงหลักสูตร และ บรรจุไว้เป็นรายวิชาหนึ่งของคณะนิเทศศาสตร์ โดยจะเริ่มใช้หลักสูตรดังกล่าวในตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 นี้ เป็นต้นไป
คณะนิเทศศาสตร์เป็นคณะวิชาหนึ่งที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั้งวงวิชาการและวิชาชีพโดยคณะฯ ได้สนับสนุนให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการจัดทำโครงการต่าง ๆ กับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกสถาบัน และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานี้ ทางคณะวิชาได้มีโอกาสประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในรูปแบบกิจกรรมต่างๆ เพื่อสนองตอบพันธกิจทั้ง 4 ด้าน ดังนี้
1.    การผลิตบัณฑิต
2.    การวิจัยและงานสร้างสรรค์
3.    การบริการวิชาการแก่สังคม
4.    การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม

พันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตนั้น คณะนิเทศศาสตร์ จัดให้มีการเรียนการสอนโดยให้ความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพแก่นักศึกษาทั้งทางด้านความคิดสร้างสรรค์และการแสดงออกอย่างเหมาะสม ตลอดจนมุ่งสร้างจิตสำนึกที่ดีในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ตนเองและสังคมสืบไป พร้อมกันนี้คณะฯ ยังมุ่งเน้นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยจัดให้มีกิจกรรม เพื่อสร้างโอกาสในการแสดงผลงานของนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง อาทิการสนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมประกวดผลงานทางวิชาการและวิชาชีพในเวทีระดับชาติ และการจัดแสดงผลงานนักศึกษาในงานสยามนิทัศน์ซึ่งจัดให้มีขึ้นทุกปี เป็นต้นนอกจากนี้ คณะฯ ได้ให้ความสำคัญต่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยจัดให้มีกิจกรรม เพื่อสร้างโอกาสในการแสดงผลงานของนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามสภาพเป็นจริง (Authentic Learning) ซึ่งทางคณะฯ เรียกว่า “Block Learning” เพื่อพัฒนาทักษะทางวิชาการและวิชาชีพให้แก่นักศึกษา อีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับนักศึกษาที่จะเข้าสู่การปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ซึ่งเป็นรายวิชาหนึ่งในหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต

คณะนิเทศศาสตร์จัดให้มีสื่อและอุปกรณ์ที่ทันสมัย เพื่อเสริมสร้างทักษะทางวิชาการและวิชาชีพทางนิเทศศาสตร์ให้แก่นักศึกษา อาทิ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตห้องปฏิบัติการทางวิทยุกระจายเสียง ห้องปฏิบัติการทางวิทยุโทรทัศน์ ห้องปฏิบัติการถ่ายภาพและ ห้องปฏิบัติการทางการแสดง เป็นต้นซึ่งห้องปฏิบัติการดังกล่าว ทางคณะฯ ได้นำมาใช้ในการผลิตผลงานในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งรายการสารคดีและภาพยนตร์สั้น ตลอดจนการสร้างสรรค์งานนำเสนอ ตามที่ได้รับมอบหมายจากทางคณะฯ และมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรและอุปกรณ์ต่าง ๆ ร่วมกับคณะวิชาและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถาบันอย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากพันธกิจหลักทั้ง 4 นี้ทางคณะฯ ยังให้ความสำคัญต่อพันธกิจด้านการบริหารจัดการ กิจกรรมพัฒนานักศึกษา และ การประกันคุณภาพ ตลอดจนมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้ทั้งคณาจารย์และนักศึกษาผลิตผลงานสร้างสรรค์และงานนวัตกรรมต่างๆรวมทั้งการแสดงความสามารถในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อส่งประกวดทั้งในระดับสถาบันและระดับประเทศซึ่งนับว่าเป็นการสร้างชื่อเสียงและการแสดงศักยภาพของบุคลากรในคณะฯ ให้เป็นที่ประจักษ์และยอมรับแก่สังคมอีกประการหนึ่ง
ในการนี้ ทางคณะวิชาได้กำหนดเสาหลักในการบริหารงานของคณะฯ ซึ่งครอบคลุมภารกิจต่าง ๆ ดังนี้

1.    สารสนเทศ
2.    แผนพัฒนา
3.    การประชุมวิชาการ
4.    กิจการพัฒนานักศึกษา
5.    วารสารทางวิชาการ
6.    การเรียนการสอน (Authentic Learning)
7.    เครือข่ายนิเทศศาสตร์ การประกันคุณภาพการศึกษา
8.    พัฒนาคณาจารย์ ตำแหน่งวิชาการ รายได้ วิจัย งานสร้างสรรค์

ชื่อคณบดีและหัวหน้าภาควิชา

ชื่อคณบดี : รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย ศิริกายะ

ชื่อหัวหน้าภาควิชา ประกอบด้วย
หัวหน้าภาควิชาหนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์ : อาจารย์ประกิจ อาษา
หัวหน้าภาควิชาการประชาสัมพันธ์    : อาจารย์พลอยชนก    วงศ์ภัทรไพศาล
หัวหน้าภาควิชาการโฆษณา : อาจารย์ปิยะศักดิ์ ชมจันทร์
หัวหน้าภาควิชาสื่อดิจิทัล : อาจารย์เวทิต ทองจันทร์
หัวหน้าภาควิชาวิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ : อาจารย์มนต์ศักดิ์ เกษศิรินทร์เทพ
หัวหน้าภาควิชาสื่อสารการแสดง : อาจารย์ชโลธร จันทะวงศ์

คณะกรรมการบริหารประจำคณะนิเทศศาสตร์

ประธานกรรมการ รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริชัย ศิริกายะ
กรรมการ รศ.สุธี พลพงษ์
กรรมการ อาจารย์ประกิจ อาษา
กรรมการ อาจารย์พลอยชนก วงศ์ภัทรไพศาล
กรรมการ อาจารย์ปิยะศักดิ์ ชมจันทร์
กรรมการ อาจารย์มนต์ศักดิ์ เกษศิรินทร์เทพ
กรรมการ อาจารย์เวทิต ทองจันทร์
กรรมการ อาจารย์ชโลธร จันทะวงศ์
กรรมการ อาจารย์ศยามล ยนตร์ศักดิ์สกุล
กรรมการ อาจารย์สุธาวัลย์ ธรรมสังวาลย์
กรรมการและเลขานุการ อาจารย์จารุณี วรรณศิริกุล
กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ อาจารย์ณัฐวุฒิ สิงห์หนองสวง